วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

งานสารทเดือนสิบ เมืองคอน ยิ่งที่สุดในประเทศไทย

          งานเดือน สิบเป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานรื่นเริงที่จัดขึ้นในโอกาสประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งถือกันว่าเป็นประเพณีทำบุญที่สำคัญ เชื่อกันว่าเป็นการทำบุญให้แก่ปูย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

         โดยเชื่อกันว่าพญายมจะปล่อยวิญญาณญาติ ๆ มาพบลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และให้กลับไปเมืองนรกตามเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ขณะเดียวกันเป็นการแสดงความชื่นชมกับผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งให้ผลในปลายเดือนสิบด้วย จึงนับว่าเป็นโอกาสเหมาะทั้งด้านเชื่อและปัจจัยในการทำบุญก่อให้เกิดประเพณี ทำบุญสารทเดือนสิบ

            ต่อมามีการจัดงานรื่นเริงขึ้นด้วย เพื่อเป็นการฉลองและสนุกสนานกันจึงเกิด "งานเดือนสิบ"จนถึงปัจจุบันนี้ ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของการจัดงานนี้ จึงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วภาคใต้และทั่วประเทศ
 
                

           ความเป็นมา การ จัดงานเดือนสิบ สืบเนื่องมาจากการจัดงานในวันวิสาขบูชาในปี พ.ศ.2465 ที่วัดพระมหาธาตุฯโดยพลโทสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมขุน) อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดการซ่อมแซมพระวิหารในวัดพระธาตุฯ เช่น ทำช่อฟ้า ใบระกา เพดานที่พระวิหารหลวง และประดับประดาด้วยหนกลวดลายไทยมีดวงดาวแฉกเป็นรัศมีมีวิหารพระทรงม้า และวิหารเขียน เป็นต้น

            แต่งบประมาณในการก่อสร้างไม่เพียงพอ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) จึงคิดหาเงินด้วยการจัดงานขึ้นในวันวิสาขบูชา พ.ศ.2465 ในวัดพระมหาธาตุฯ ทางทิศใต้ของพระวิหารหลวง (ซึ่งขณะนั้นไม่มีภิกษุสามเณรหรือแม่ชีเข้าอยู่อาศัย เรียกว่า “สวนดอกไม้”) มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและเล่นการพนันบางประเภทในงานนั้นโดยจัดงานอยู่ 3 วัน 3 คืน

           ปราก ฎว่าได้เงินค่าประมูลร้านและการพนันนับหมื่นบาทสามารถนำไปซ่อมแซมพระวิหารใน ครั้งนั้นได้เพียงพอ ต่อมาในปี พ.ศ.2466 พระภัทรนาวิกธรรมจำรูญ (เอื้อน ภัทรนาวิก) เวลานั้นยังเป็นหลวงรามประชา ผู้พิพากษหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและเป็นนายยกศรีธรรมราชสโมสร (ปัจจุบันคือสโมสรข้าราชการ) เห็นว่านครศรีธรรมราชสโมสรซึ่งสร้างมาหลายปีแล้วชำรุด สมควรที่จะได้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นตึกถาวรสง่างามแต่ก็ขัดข้องเรื่องเงินที่ จะใช้ในการก่อสร้างจึงได้ปรึกษาหารือกับพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) จึงได้ตกลงกันให้จักงานขึ้นอีก เพราะเห็นว่าการจัดงานวันวิสาขบูชาในปีก่อน (พ.ศ.2465) มีรายได้สูงแต่ในปี พ.ศ.2466 นั้นให้กำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาเป็นช่วงที่จัดงาน “งานเดือนสิบ” ณ สนามหน้าเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช

           ใน ปี พ.ศ.2482 คณะกรมการจังหวัดได้มอบให้เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้จัดงานเดือนสิบ เพื่อนำรายได้บำรุงเทศบาลเมือง ส่วนในปี พ.ศ.2484-2488 งดจัดงานเดือนสิบเพราะอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2504 คณะกรรมการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นผู้จัดงานเดือนสิบ หลังจากนั้นจังหวัดก็ได้จัดงานเดือนสิบติดต่อกันเรื่อยมา โดยร่วมมือกับเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด
 
        

           ความสำคัญของงานเดือนสิบ
       1. เป็นการรักษาฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีการทำบุญวันสารท ในขณะเดียวกันเป็นการสืบทอดประเพณีการจัดงานรื่นเริงประจำปีของชาวจังหวัด นครศรีธรรมราชให้ยั่งยืนมาถึงปัจจุบันนี้
       2. ชาวเมืองนครศรีธรรมราชและผู้ที่อยู่ใกล้ไกลได้รับความรื่นเริงจากการเที่ยวงานประเพณี
       3. ทำให้ประชาชนได้รับความรู้ทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรมการประกอบอาชีพและอื่น ๆ เท่าที่มีกิจกรรมในงานเดือนสิบในแต่ละปี
       4. ทำให้ประชาชนได้รับความรู้และเข้าใจในผลงานตลอดจนนโยบายที่สำคัญของทาง ราชการ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน
       5. จังหวัดมีรายได้นำไปบำรุงสาธารณประโยชน์และช่วยในกิจการกุศล
       6. เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำบุญและนมัสการองค์พระบรมธาตุโดยทั่วถึง

           งานเดือนสิบในปัจจุบัน ยังคงจัด ณ ทุ่งท่าลาด โดยมีกิจกรรมดังนี้
       1. กิจกรรมเกี่ยวกับการบุญการกุศลและฟื้นฟูประเพณีทำบุญวันสารท เช่น จัดให้มีการทำบุญตักบาตรในวันเปิดงานการทำบุญวันสารท การประกวดหฺมรับและการแห่หฺมรับ ไปในเขตเทศบาล ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่อย่างจริงจังในประเพณีเก่าแก่ จากทั้งทางราชการและประชาชน นอกจากนั้นแล้วในโอกาสงานเดือนสิบทางวัดมหาธาตุฯ ก็ได้เชิญชวนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าชมและนมัสการองค์พระบรมธาตุด้วย
       2. บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จากทุกภาค หน่วยงานราชการ ออกร้านแสดงและจำหน่ายสินค้า
       3. กิจกรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูและให้ความรู้และให้ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม แก่ประชาชน เพราะงานเดือนสิบเป็นงานที่มีจุดกำเนิดและมีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม โดยตรง
       4. มีการประกวดมีการประกวดหลายประเภท เช่น การประกวดศิลปหัตถกรรมของนักเรียนและประชาชน (วาด ปั้น แกะสลัก ฯลฯ) การประกวดมารยาทนักเรียนอ่านทำนองเสนาะ โต้กลอนและโต้วาที่ เป็นต้น
       5. เผยแพร่ผลงานและนโยบายของรัฐบาล หน่วยงานราชการจากกรม กอง กระทรวงต่าง ๆ ออกร้านเพื่อแสดงผลงานและนโยบายของหน่วยราชการนั้น ๆ
       6. กิจกรรมเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬา กีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันในบริเวณงานเดือนสิบมีทั้งระดับนักเรียนและ ประชาชน เช่น บาสเกตบอล ตะกร้อ แบดมินตัน วอลเลย์บอล ชกมวย เป็นต้น
       7. กิจกรรมเกี่ยวกับมหรสพและการบันเทิง ทั้งที่เป็นของท้องถิ่นภาคใต้โดยตรง เช่น หนังตะลุง โนรา และมหรสพอื่น ๆ ทั่วไป เช่น ลิเก ลำตัด ภาพยนตร์
 
                  

           พีธีกรรม  เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "
หฺมฺรับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น

            การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหฺมรับ และจัดหฺมรับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหฺมรับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหฺมรับรับการจัดหฺมรับ แต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่ง

           การจัดหฺมรับ  ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารคาว หวาน ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหม.รับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้
 

ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
 
ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
 

ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นสะบ้า ในวันสงกรานต์
 

 ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับบุรพชน ใช้ลอ่งข้ามห้วงมหรรณพ
 
ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย

           การประกอบพิธี
       1. การยกหฺมฺรับ การนำหฺมรับที่จัดเตรียมไว้ในวันแรม 13 ค่ำ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เรียกว่า "วันยกหฺมฺรับ" การยกหฺมรับไปวัดจะจัดเป็นขบวนแห่ อาจเป็นขบวนเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่ ขนาดของหฺมรับ และจำนวนคนที่ร่วมกันจัดหฺมรับ คือ อาจจะมี 3 - 4 คน หรือ 10 - 20 คน หรือ 100 คน ถ้าเป็นหฺมรับใหญ่ ก็จะมีขบวนแห่ใหญ่โต ผู้ร่วมขบวนก็จะแต่งตัวสวยงาม หรืออาจแต่งเป็น "เปรต" แล้วแต่ความคิดของผู้ร่วมขบวนแห่
       2. การตั้งเปรต เมื่อยกหม.รับและถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์แล้ว ก็จะมีการ "ตั้งเปรต"โดย การนำเอาขนมส่วนหนึ่งไปวางไว้ในที่ต่าง ๆ ตรงทางเข้าวัด ริมกำแพงวัด หรือตามโคนต้นไม้เพื่อแผ่ส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญด้วย ส่วนการตั้งเปรตในระยะหลังได้มีการสร้างร้านสูงพอสมควรเรียกว่า "หลาเปรต" หรือ "ศาลเปรต" แล้วนำขนมไปวางไว้บนร้านนั้น นำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จับเพื่อสวดบังสุกุลมาผูกไว้กับหลาเปรต เพื่อแผ่ส่วนบุญกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "ชิงเปรต" คนเฒ่าแก่หนุ่มสาวและเด็ก ๆ ก็จะกรูกันเข้าไปแย่งขนมที่ตั้งเปรต เชื่อที่ว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้ ใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
       3.การฉลองหม.รับและการบังสุกุล กระทำกันในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารท มีการทำบุญเพื่อเป็นการฉลองหม.รับ เรียกว่า "วันฉลองหฺมฺรับ" นอกจากนี้มีการทำบุญเลี้ยงพระและการบังสุกุล เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษและญาติพี่น้องกลับไปเมืองนรก หากมิได้จัดหฺมรับ หรือทำบุญ อุทิศส่วนกุศลที่วัดในวันนี้ บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเป็นคนอกตัญญู
 
           

           วิวัฒนาการ  ปัจจุบันประเพณีสารทเดือนสิบของเมืองนครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนแปลงไปทั้ง พิธีการและรูปแบบคือ เนื่องจากในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 ที่เรียกว่า "วันจ่าย" ชาวนครจะชวนกันไปชุมนุมซื้อของตามที่นัดหมาย หรือตามตลาดจ่ายต่าง ๆ กันมาก ดังนั้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาได้จัดงานรื่นเริงสมทบกับประเพณีสารทเดือนสิบด้วยด้วยชื่อว่า "สารทเดือนสิบ" จัดขึ้นที่สนามหน้าเมืองเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 และจัดสืบมาถึงปัจจุบัน อนึ่ง ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหฺมรับนั้น มีการจัดขบวนแห่หฺมรับกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนำหฺมรับไปประกวดที่ศาลาประดู่หก และหฺมรับก็จะจัดแต่งอย่างสวยงามเพื่อประกวดแข่งขันกันด้วย ส่วนตามชนบทก็ยังคงปฏิบัติตามแบบเดิม
 
                

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ตราสัญลักษณ์ 75 ปี สวนสุนันทา

    ตราสัญลักษณ์ 75 ปี สวนสุนันทา อธิบายได้ดังนี้ 
       1. อักษร ส ภายใต้มงกุฎพระมหากฐิน ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราช ซึ่งเป็นตราประจำวิทยาลัยครูสวนสุนันทา 
       2. หมายเลข 75 คือ การครบรอบของการตั้งมหาวิทยาลัยมาครบ 75 ปี(พ.ศ. 2480 - 2555)ซึ่งจะครบรอบ 75 ปี ในปี พ.ศ. 2555 นี้ 
       3. รูปดอกไม้ที่เห็นนี้ คือ ดอกแก้วเจ้าจอม ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยซึ่งดอกไม้นี้อยู่คู่กับสวนสุนันทามานานแล้วเป็นไม้ดอกซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาปลูกในบริเวณสวนสุนันทา ได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ลักษณะดอกเหมือนดอกแก้วแต่กลีบดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เกสรสีเหลือง ใบเหมือนใบแก้ว แต่กลมและป้อมกว่าต้นแรกปลูกไว้บนเนินดินหน้าอาคาร 1 ในปัจจุบัน ขนาดต้นสูง ประมาณ 15 เมตร
        4. สีชมพูและสีน้ำเงินที่อยู่เลข 75 คือ สีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งอธิบายได้คือ สีชมพู คือ สีประจำวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5) ส่วนสีน้ำเงิน คือ สีประจำขององค์พระมหากษัตริย์ 
        5. คำที่เขียนว่า 75 ปี สวนสุนันทา 2480-2555 แล้วมีเส้นมาล้อมรอบเลข 75 คือ การเวียนมาครบรอบ 75 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้เปิดทำการเรียนการสอนมาแล้ว 75 ปี นับตั้งปี พ.ศ.2480-2555 นับเป็นเวลา 75 ปี 
นี้คือคำอธิบายของตราสัญลักษณ์ 75 ปี สวนสุนันทา ครับ

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพ

ภาพ แสดงการตั้งสมาธิ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

        การดูแลรักษาสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องทราบ เพื่อจะได้มีความรู้พื้นฐานในการรักษาตัวเองได้ และเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้
        4.1 การดูแลรักษาสุขภาพจากพระไตรปิฎก
            4.1.1 เหตุการเกิดโรค 8 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โรค 8 อย่างเหล่านี้ คือ
              1. อาพาธมีน้ำดีกำเริบเป็นสมุฏฐาน                
              2. อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
              3. อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
              4. อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลมมาประชุมกัน
              5. อาพาธเกิดจากเปลี่ยนฤดู
              6. อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง              
              7. อาพาธที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้ดีขึ้น)
              8. อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม
         ในโรคทั้ง 8 อย่างนั้น มิจฉาทิฏฐิบุคคลปฏิเสธโรค 7 อย่างข้างต้น แล้วยอมรับแต่เฉพาะโรคชนิดที่ 8 เท่านั้น


                  4.1.2 ธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น คือ
             1. บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง
             2. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
             3. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่ย่อยยาก
             4. เป็นผู้เที่ยวในกาล ไม่สมควร
             5. ไม่ประพฤติประเสริฐ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุ คือ
            1. บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง 
            2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
            3. บริโภคในสิ่งที่ย่อยง่าย
            4. เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร
            5. เป็นผู้ประพฤติประเสริฐ

4.2 การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง1
              4.2.1 อาการเส้นติด
เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดียวนานๆ เช่น พิมพ์ดีด (เส้นติดที่คอ) นั่งรถ นั่งสมาธิ นั่งเขียนหนังสือนานๆ
การแก้ไข                    

                    1) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                    2) ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดื่มน้ำน้อยเส้นยิ่งเหี่ยวลีบถ้าปล่อยทิ้งไว้เส้นจะติดเป็นแผงจนไขว้ และเมื่อแคลเซี่ยมเกาะ จะทำให้แกะยาก อาการเส้นติดดูจากการขับปัสสาวะ ขับไม่ไหมด ยังมีค้างอยู่ บอกให้ทราบว่าเส้นลีบแห้ง เส้นเริ่มไขว้ แคลเซี่ยมเริ่มพอก รีบออกกำลังกายภายใน 1 - 2 สัปดาห์จะหาย ถ้าทิ้งไว้นานจะต้องใช้เวลาในการรักษานาน ถึงแม้นวดก็แค่พอทุเลา แต่ไม่หายเพราะติดลึก

               4.2.2 การออกกำลังกายมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ข้อดีมีมากกว่า ส่วนข้อเสียอาจเกิดขึ้นจากการที่ปฎิบัติไม่ถูกวิธี ออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป ออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อม กำลังบาดเจ็บอยู่ อ่อนเพลีย เป็นต้น หรือบางคนเล่นโยคะ รำมวยจีน เล่นเฉพาะท่าที่ชอบใจจึงเกิดการผิดพลาด ดังนั้นการออกกำลังกาย ให้เกิดประโยชน์มีข้อดีจะต้องคำนึงถึง
                   1) จะต้องไม่หักโหม
                   2) เล่นท่าตามลำดับ
                         การออกกำลังกายอย่างต่ำต้องออกครั้งละครึ่งชั่วโมง การแกว่งแขนจะได้ผลต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาที คว่ำมือ หงายมือ ครั้งละ 5 นาที รวม 4 ครั้ง เป็น 20 นาที ประมาณ 1,200 ครั้ง จะให้ดีควรแกว่งแขนให้ถึง 2,000 ครั้งต่อวัน ถ้าไม่ชอบแกว่งแขนให้กวาดสนามหญ้า อย่างน้อยต้องชั่วโมงครึ่ง สำหรับผู้ทำภาวนา การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จะเห็นผลได้ดี


4.2.3 การดื่มน้ำและการรับประทานอาหาร
                   1) การดื่มน้ำ ดื่มน้ำมากพอ ดูจากตื่นมาปัสสาวะใส ถ้าเหลืองเข้ม หรือสีชายังไม่ดี การดื่มน้ำต้องดื่มให้เป็นดื่มน้ำเป็น ตื่นมารีบดื่ม 2-3 แก้วก่อนออกเดินทาง 1 ชั่วโมง อย่าดื่มน้ำ พอจะถึงที่หมายค่อยดื่มน้ำ
ก่อนนอน 1 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มน้ำดื่มน้ำน้อย มีโอกาสที่จะเกิดข้อเท้าแพลงมาก เพราะเส้นลีบ ทั้งยังทำให้มึน และปวดศีรษะได้
                   2) รับประทานอาหารเป็น สำหรับผู้ที่รักษาศีล 8 จะรับประทานอาหารเพียง 2 มื้อ คือ มื้อเช้า และมื้อเพลเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารแต่ละมื้อจึงควรปฏิบัติดังนี้
            - มื้อเช้า รับประทานแค่ค่อนท้อง เพราะถ้าอิ่มมากเกินไปจะรับประทานมื้อเพลหรือกลางวันไม่ได้ หรือถึงรับประทานได้ก็ได้น้อยเนื่องจากช่วงเวลาห่างกันไม่มาก จะทำให้หิวตอนบ่ายหรือตอนค่ำ
            - มื้อเพล รับประทานให้อิ่ม จากนั้นอีกประมาณ 10 นาที ดื่มน้ำตาม 1 แก้ว เพื่อช่วยย่อย
สำหรับผู้ที่มิได้รักษาศีล 8 การรับประทานอาหาร

            - มื้อเย็น ไม่ควรรับประทานอาหารหนักหรืออิ่ม จนเกินไป เพราะร่างกายไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มากนัก ควรรับประทานอาหารเบาๆ เช่น สลัดผลไม้ หรือน้ำผลไม้ 
กระเพาะลำไส้ไม่มีแรง        

        1. เพราะดื่มน้ำน้อย เวลาจะย่อยเลยต้องใช้แรงมาก
        2. อีก 4-5 คำ จะรับประทานอาหารอิ่มให้หยุด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการย่อย
กลั้นปัสสาวะนานๆ   ทำให้ตับร้อน ไตร้อน ทำลายระบบของร่างกาย
กลั้นอุจจาระนานๆ    ทำให้ของเหลวในอุจจาระดูดซึมกลับเข้าลำไส้แล้วเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เลือดเสีย กลิ่นตัวแรง เป็นโรคผิวหนัง อุจจาระแข็งเพราะน้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด ยิ่งขับถ่ายลำบากอาจเป็นเหตุทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้
        รับประทานไม่เป็น ปัสสาวะไม่เป็น อุจจาระไม่เป็น ออกกำลังกายไม่เป็น เป็นสาเหตุให้ต้องพบแพทย์บ่อยๆ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ บั่นทอนจิตใจ กลายเป็นคนวิตกกังวลในที่สุด ฉะนั้นรักที่จะมี สุขภาพดี อารมณ์แจ่มใส ทำงานได้เต็มที่ หรือปฏิบัติธรรมให้ดี ต้องรักษาสุขภาพให้เป็น ให้ดีด้วย


        4.2.4 หลักการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 8 ประการ                 
   1. การรับประทานอาหาร             อาหารเช้า เป็นมื้อที่สำคัญมาก เพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่ทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล ซึ่งจะมีผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหได้ง่าย มื้อเช้า รับประทานได้เช้าที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา 6.00-7.00 น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำข้าวอุ่นๆ ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อนๆ จะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระง่าย ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน (สาย) ใกล้เวลาอาหารมื้อกลางวันอย่ารับประทานมาก
           อาหารเพล ควรเป็นอาหารหนัก เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก
วิธีการรับประทานอาหาร
      - ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
      - หลังรับประทานอาหารไม่ควรนั่งหรือนอนทันที ควรเดินเพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน
      - หลังรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำมากๆ จะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ควรดื่มเพียงแก้วเดียว จากนั้นอีกประมาณ 20-30 นาที ค่อยดื่มให้เต็มที่ตามต้องการ
     - การดื่มน้ำอุ่น ร่างกายจะได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะน้ำมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ต้องปรับมาก สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลย
          2. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
          3. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนาๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า ขณะนอนตอนกลางคืน ควรห่มผ้าปิดถึงอก
          4. ออกกำลังกาย กลางแจ้งทุกวัน
          5. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
          6. รักษาอารมณ์ ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวันและอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
          7. พักผ่อน นอนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศและวัย ไม่ควรนอนดึกเกิน 22.00 นาฬิกา ติดต่อกันหลายวัน
          8. มีท่าทางและอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

     
4.3 การบำบัดรักษาเบื้องต้น
           4.3.1 คุณลักษณะของคนไข้ที่หมอต้องการ
ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ใน ปฐมอุปัฏฐากสูตร1 สรุปความได้ว่า
ภิกษุไข้ที่เป็นผู้พยาบาลยาก มีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้
                             1. ไม่ทำความสบายแก่ตนเอง
                             2. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งสบาย
                             3. ไม่ฉันยา
                             4. ไม่บอกอาการเจ็บป่วยให้หมอทราบตามความเป็นจริง
                             5. ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

ภิกษุไข้ที่เป็นผู้พยาบาลง่าย มีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้
                           1. ย่อมทำความสบายแก่ตนเอง
                           2. รู้จักประมาณในสิ่งสบาย
                           3. ฉันยาตามหมอสั่ง
                           4. บอกอาการเจ็บป่วยให้หมอทราบตามความเป็นจริง
                           5. เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาที่รุนแรงได้
         ส่วนในทางการแพทย์ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี กล่าวถึงลักษณะของคนไข้ ที่คุณหมอต้องการ และเต็มใจที่จะรักษาให้อย่างเต็มกำลังว่า ผมอยากให้คนไข้ของผมมีลักษณะ ดังนี้
       1. ทำตัวเป็นกันเอง เสมือนเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่มีความศรัทธาต่อกัน ให้ความเคารพนับถือกัน เสมือนเป็นเพื่อนหรือญาติสนิทและมีความเข้าใจกันและกันดี
       2. ปฏิบัติตามแพทย์สั่งและแนะนำ โดยเห็นความสำคัญในการสั่งและแนะนำว่า เพื่อความสุขและเพื่อพ้นจากทุกข์ทรมานของตัวเองโดยตรง
      3. เห็นความสำคัญของตนและรักตัว โดยเมื่อยามป่วยไข้แล้วรีบให้แพทย์ตรวจรักษาเสีย ผม ไม่อยากได้ยินคนไข้ที่มาหาแล้วพูดว่า จะมาหานานแล้วแต่ไม่ว่าง เห็นว่าเป็นนิดหน่อย ไม่อยากรบกวนหมอŽ เพราะถ้าไม่ว่าง ไม่ให้เวลาแก่ตัว แล้วจะว่างให้ใครได้ แล้วถ้าโรคเป็นมานานแล้วจึงมาหาหมอกลายเป็นรบกวนหมอไป
      4. เห็นหมอเป็นคนธรรมดาสามัญที่ให้การรักษาคนธรรมดาๆ ได้ ผมไม่อยากเห็นคนไข้ที่คิดว่า เมื่อมาหาหมอแล้วหมอจะรักษาให้หายโดยเร็ว และหายได้อย่างทันที เพราะการรักษานั้นย่อมมีระยะเวลา ไม่ใช่หายได้ทันทีหรือทันใจ
      5. รู้เวลาที่หมอปฏิบัติงาน ผมไม่อยากให้คนไข้มาหาหมอเมื่อหมอเลิกปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะเวลาค่ำคืน ซึ่งก่อให้เกิดความลำบากและมีปัญหาหลายประการ นอกจากเจ็บป่วยกะทันหันเท่านั้น
      6. บอกผลการรักษาให้ทราบ แม้แต่ในรายที่ส่งตัวไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอื่น ก็อยากทราบผลการรักษาว่าเป็นอย่างไร
      7. มาพบแพทย์ตามเวลาที่กำหนด ผมคิดว่าในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ
                       1. แพทย์ดี
                       2. ยาและวิธีการรักษาดี
                       3. คนไข้และญาติคนไข้ดี
ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว การรักษาจะไม่ได้ผลสมบูรณ์เลย
4.3.2 โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
                   ท้องผูก อาการ ผู้มีอาการท้องผูกอยู่เสมอนั้น จะทำให้ผิวพรรณหยาบกร้าน เป็นเม็ดผดผื่นคันได้

       สาเหตุ เนื่องมาจากลำไส้ใหญ่ไม่ได้รับการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ขาดความกระฉับกระเฉง ผู้หญิง ส่วนมากจะท้องผูกมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะลำไส้ของผู้หญิงนั้นอ่อนแอกว่าผู้ชาย
      การป้องกันและรักษา คือ ทำให้ลำไส้ใหญ่มีความกระฉับกระเฉงเท่านั้น การจะทำให้ลำไส้ใหญ่มีความกระฉับกระเฉงนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบในการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีความตื่นตัวที่พอเหมาะพอควร รับประทานอาหารผักและผลไม้ให้มาก นอกจากนี้ไม่ว่าจะมีการปวดอุจจาระหรือไม่ก็ตาม ก็ควรจะฝึกเข้าสุขาให้เป็นเวลา จนเป็นนิสัย และถ้าหากปวดอุจจาระแม้เพียงเล็กน้อยก็จงรีบเข้าห้องน้ำทันที ควรดื่มน้ำมากๆ อาจเป็นน้ำผึ้ง น้ำมะขาม หรือน้ำลูกพรุน ถ้ายังไม่ได้ผลให้ใช้ยาระบายช่วย

                 ท้องเฟ้อ อาการ คือ อาการที่รับประทานอาหารแล้วไม่ย่อย ทำให้อาหารบูดอยู่ในกระเพาะเป็น
      สาเหตุให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
      การป้องกันและรักษา                        

        1. รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ประเภทผักและผลไม้
        2. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ติดมันมาก หรือของประเภททอด
        3. ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา
        4. กินยาลดกรด


โรคท้องเดิน (ไม่รุนแรง)          สาเหตุ อาจเกิดจากยา อาหารเป็นพิษ หรือจากเชื้อไวรัส
          การป้องกันและรักษา
                       1. กินอาหารย่อยง่าย รสไม่เผ็ด ไม่มันจัด
                       2. ดื่มสารละลายน้ำตาล เกลือแร่ หรือน้ำอัดลมใส่เกลือ น้ำข้าวใส่เกลือ แทนให้พอกับที่ร่างกายสูญเสียไป
                       3. ถ้ามีไข้ ให้ใช้ยาลดไข้
                       4. หยุดกินยา สารเคมี หรืออาหารที่สงสัยว่าเป็นต้นเหตุของอาการท้องเดิน
                       5. ควรพบแพทย์ - หากอาการไม่ทุเลาใน 48 ชั่วโมง
                           - อาเจียนมาก หรือดื่มน้ำได้น้อยมาก
                           - เวลาลุกนั่งมีอาการใจหวิว หน้ามืด เป็นลม


โรคกระเพาะ                          
         โรคกระเพาะ คือ อาการปวดท้องเนื่องจากกระเพาะเป็นแผล อันเกิดจากน้ำย่อยกัดกระเพาะอาหาร
   สาเหตุ
            1. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
            2. มีความเครียดสูง
    การป้องกันและการรักษา
                        1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
                        2. งดอาหารเผ็ดจัด น้ำอัดลม ชา กาแฟ
                        3. รับประทานยาลดกรด (ถ้าอาการดีขึ้นให้ทานต่อนาน 1-2 เดือน)

    4.3.3 โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาการเป็นไข้ (ตัวร้อน)
     วิธีการรักษาเบื้องต้น
                         1. นอนพัก เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ ห้ามอาบน้ำเย็น
                         2. ถ้าเบื่ออาหาร ให้กินน้ำหวาน ข้าวต้ม
                         3. กินยาลดไข้
                         4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 4 วัน ให้พบแพทย์

อาการไข้หวัด                
  วิธีรักษาเบื้องต้น                       
      1. นอนพัก เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ ห้ามอาบน้ำเย็น
      2. ถ้าเบื่ออาหาร ให้กินน้ำหวาน ข้าวต้ม
      3. กินยาแก้ปวดลดไข้ หรือน้ำขิงร้อนไม่ใส่น้ำตาล
      4. ถ้ามีน้ำมูกเล็กน้อย ให้คอยเช็ดออก ไม่ต้องกินยาลดน้ำมูก
      5. ถ้าน้ำมูกมากให้กินยาลดน้ำมูก ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เพียง 2-3 วัน เมื่อน้ำมูกแห้ง ควรหยุดกิน
      6. ถ้าน้ำมูกหรือเสมหะมีสีเหลืองเขียวอยู่ตลอดวัน ให้กินยาปฏิชีวนะ (3 วัน) ถ้าดีขึ้น กินต่ออีก 5-7 วัน (คนที่มีประวัติแพ้ยาควรไปพบแพทย์)
      7. ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ
      8. ถ้าไอมากให้ดื่มน้ำอุ่นมากๆ และจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว (มะนาว 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 4 ส่วน)
ควรไปพบแพทย์เมื่อ                      

      1. มีอาการกินไม่ได้
      2. มีอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดหัว หูอื้อ หายใจหอบ หรือในรายที่เป็นไข้หวัดใหญ่ อาการไม่ทุเลาใน 4 วัน
การป้องกัน (การติดเชื้อ)                     

      1. ควรอยู่ห่างจากผู้อื่นเวลาไอ หรือจาม ควรปิดปาก
                           2. หมั่นล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อทางมือ ที่อาจไปแปดเปื้อนสิ่งของเครื่องใช้หรือมือผู้อื่น

หวัดภูมิแพ้    วิธีรักษาเบื้องต้น                    
           1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่นละออง ขนสัตว์ ความเย็น
           2. หมั่นออกกำลังกาย
           3. ถ้าอาการไม่มากหรือเป็นชั่วคราว ไม่ต้องกินยา
           4. ถ้ามีอาการมาก กินยาแก้แพ้ เป็นครั้งคราว
           5. ควรพบแพทย์ ถ้าอาการไม่ทุเลา


จาก   หนังสือวัฒนธรรมชาวพุทธ ของ  DOU